วันศุกร์ที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

ออกแบบผังงานง่าย ๆ ด้วย Open Source; Dia


มารู้จัก โปรแกรม  Dia  กัน
ลักษณะงานหนึ่งที่ใช้คอมพิวเตอร์เป็นเครื่องมือในสำนักงาน หรือสถานศึกษาต่างๆ ก็  คือการออกแบบผังงาน หรือผังโครงสร้างต่างๆ เช่น ผังการจัดวาง คอมพิวเตอร์ในห้องคอมพิวเตอร์ ผังโครงสร้างการทำงาน ผังความคิด ซึ่งมีซอฟต์แวร์ให้เลือกใช้งานหลากหลายอย่างไรก็ตามในเมื่อกระแส โอเพนซอร์สเป็นกระแสที่ได้รับการยอมรับสูงในปัจจุบันโปรแกรมหนึ่ง ชื่อว่า Dia
โปรแกรม Dia เป็นฟรีโปรแกรม  Open Source ที่เราสามารถ download มาใช้งานได้ฟรีๆ ส่วนความสามารถของโปรแกรมตัวนี้ เป็นทางเลือกที่จะใช้แทนโปรแกรม  Microsoft  Visio ที่ไม่ถูกลิขสิทธิ์
โปรแกรม Dia (ไดอะ) เป็นโปรแกรมวาดภาพกราฟฟิกส์แบบเวกเตอร์ที่ออกแบบมา เพื่อให้ใช้ในการ เขียนไดอะแกรมโดยเฉพาะ สามารถเขียนไดอะแกรมได้หลายชนิดอย่างรวดเร็ว Diaมีชุดออปเจคที่ช่วยในการวาด entity relationship diagram, UML diagram, flowchart, network diagram ,วงจรไฟฟ้าอย่างง่าย ๆ รวมถึงไดอะแกรมอื่นๆ นอกเหนือจากที่กล่าวมา นอกจากนี้ Dia ยังสามารถที่จะเพิ่มเติมชุดออปเจคลงไปได้ ด้วยการเขียนไฟล์ XML
โปรแกรม Dia อ่านและบันทึกไดอะแกรมด้วยฟอร์แมต XML ส่วนตัว แต่มันสามารถ exporไดอะแกรมไปยังฟอร์แมต EPSหรือ SVGได้ และสามารถพิมพ์ไดอะแกรมออกเครื่องพิมพ์ แม้ไดอะแกรมขนาดใหญ่ที่ใช้หลายหน้ากระดาษ ด้วยการพิมพ์ลงบนกระดาษหลายแผ่น เพื่อให้คุณสามารถนำไปเรียงต่อกันได้

Dia เป็นโปรแกรมที่ช่วยสร้างสรรค์ผังงานได้หลากหลาย ลักษณะ ดังนี้






ก่อนเริ่มต้นใช้ Dia  ก่อนเริ่มใช้ Dia
  ก็คงจะเริ่มจากการหาซอฟต์แวร์นี้มาติดตั้งไม่จำเป็นต้องซื้อซอฟต์แวร์ เพราะโปรแกรม Dia เป็น โปรแกรมในกลุ่ม Open Source จึง.สามารถดาวน์โหลดได้จากเว็บไซต์เนคเทคที่ http://www.nectec.or.th/pub/review-software/dia.html ระบบการติดตั้งทำได้ง่ายสะดวกและรวดเร็ว
การทำงาน ของ Dia
เมื่อติดตั้ง Dia แล้วและเรียกใช้งาน จะปรากฏ จอภาพ  การทำงานของDiaดังภาพ โดย Diaเป็นโปรแกรมที่มี   จอภาพการทำงานในลักษณะหลายจอลอยซ้อนกันผู้ใช้อาจจะต้อง ให้ความสำคัญกับการจัดวางตำแหน่งจอภาพ การย้าย และปรับขนาดจอภาพให้เหมาะสม

ขั้นตอนการใช้ Dia สร้าง Class (เบื้องต้น) 
    - ลากวัตถุ Class ใน UML มาไว้ใน Working Area 
-   กด Right Click บนวัตถุชื่อ Class แล้วเลือก Properties 
- เปลี่ยนชื่อ Class เป็น DSam01 
- แล้วเลือก Attributes Tab 
- กดปุ่ม New เพิ่ม Attribute Data ชื่อ x มี type = int และ value = 5 
- แล้วเลือก Operations Tab 
- กดปุ่ม New เพิ่ม Operation Data ชื่อ main มี type = void 
- กดปุ่ม New เพิ่ม Parameter ชื่อ Args[] เป็นแบบ String 
- กดปุ่ม OK 
- เลือก File จาก Menu Bar แล้ว Save แฟ้มในห้อง Java/bin ชื่อ DSam01.dia 
- เลือก File จาก Menu Bar แล้ว Export เลือก By extension เป็น XSL Transformation filter(*.code) แล้ว Save 
- เลือก From: URL To: Java 
- ออกจาก Dia ไปเข้า DOS ตรวจสอบว่ามีแฟ้ม .java ชื่อ DSam01 หรือไม่ 
- ใช้ Compiler ทำการ Compile ตามด้วย Run โปรแกรม DSam01.java และ DSam01.class
จุดเด่นของ DIA
บางครั้ง Diagram ที่วาดนั้นอาจมีขนาดใหญ่เกินกว่ากระดาษที่จะใช้พิมพ์ แต่โปรแกรม Dia เองก็มีความสามารถที่จะจัดการและกำหนดขนาดเพื่องานพิมพ์ได้ โดยสามารถทำได้ดังนี้
ไปที่ ไฟล์>ตั้งค่าหน้ากระดาษ เลือก พอดี  เมื่อกลับไปที่หน้า drawing จะมีเส้นสีฟ้า เป็นกรอบแสดงให้เราทราบว่ามีขอบของภาพอยู่ที่โด
ประโยชน์ของ Diagram
1. ทำให้เข้าใจ และแยกแยะปัญหาได้ง่าย (Problem Define) 
2. แสดงลำดับการทำงาน (Step Flowing) 
3. หาข้อผิดพลาดได้ง่าย (Easy to Debug) 
4. ทำความเข้าใจโปรแกรมได้ง่าย (Easy to Read) 
5. ไม่ขึ้นกับภาษาใดภาษาหนึ่ง (Flexible Languag6.เพื่อประโยชน์ในการนำเสนอระบบฯ
Dia เป็นแรงบันดาลใจประมาณโดยโปรแกรม Windows พาณิชย์'Visio'แต่มุ่งขึ้นต่อแผนภาพทางการสำหรับการใช้งานชั่วคราว สามารถใช้วาดชนิดต่างๆของไดอะแกรม นั้นปัจจุบันมีวัตถุพิเศษเพื่อช่วยวาดไดอะแกรมความสัมพันธ์องค์กรไดอะแกรม UML, flowcharts, diagrams เครือข่ายและ ot มากไดอะแกรมของเธอ นอกจากนี้ยังสามารถเพิ่มการสนับสนุนสำหรับรูปทรงใหม่โดยการเขียนไฟล์ XML อย่างง่ายโดยใช้ชุดย่อยของ SVG เพื่อวาดรูปร่าง สามารถโหลดและบันทึกไดอะแกรมเป็นรูปแบบ XML ที่กำหนดเอง (gzipped ตามค่าเริ่มต้นเพื่อประหยัดพื้นที่) สามารถส่งออกไปยังหมายเลขไดอะแกรมของรูปแบบรวมถึง EPS, SVG, XFIG, WMF และ PNG และสามารถพิมพ์ไดอะแกรม (รวมถึงที่ช่วง หลาย ๆ หน้า) เป็นต้น

ขอขอบคุณ แหล่งที่มา

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น